“รถขุด” เป็นเครื่องจักรกลขนาดหนักที่ใช้ในการทำงานแทนแรงงานคน ซึ่งเกี่ยวกับงานดิน งานก่อสร้าง หรือตลอดจนงานอื่นๆ ที่แรงงานคนไม่สามารถทำได้ หรือเกินขีดความสามารถที่จะใช้แรงงานคนทำงานให้สำเร็จได้ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าใช้แรงงานคนทำงาน จะใช้งบประมาณที่มากเกินในขณะเดียวกันก็ได้ผลของงานที่ช้ากว่าเครื่องจักร ดังนั้น ผู้ที่มีความต้องการที่จะใช้ “รถขุด” จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานของ “รถขุด” แต่ละชนิดให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อจะได้นำ “รถขุด” ไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ลักษณะการทำงานของรถขุด แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. งานขุดลอกคลองธรรมชาติ เป็นการขุดลอกคลองธรรมชาติ ขุดลอกคลองส่งน้ำ ขุดลอกคลองระบายน้ำ ละคูคลองหนองบึงทั่วไป ซึ่งลักษณะของดินจะเป็นดินอ่อน ดินเลน
2. งานขุดดินธรรมดา เป็นการขุดดินที่มีลักษณะอ่อน ดินที่ได้มีการเตรียมหรือรวมกองไว้จากบ่อยืมดิน เพื่อตักใส่รถบรรทุกเทท้ายลำเลียงไปยังบริเวณก่อสร้าง
3. งานขุดดินยาก เป็นงานลักษณะเดียวกับงานขุดลอกคลองธรรมชาติและงานขุดดินธรรมดา แต่ลักษณะวัสดุหรือดินที่ขุดจะเป็นวัสดุที่ขุดยาก เช่น หินกรวด ลูกรัง ลูกรังปนแร่ หินปูน ดินเหนียวแห้ง ดินที่กะเทาะออกเป็นแผ่นๆ หินที่ระเบิดแล้ว และดินดาน
หลังจากที่เราพอจะทราบลักษณะของงานขุดแล้ว ทีนี้เราก็มาทำความรู้จักกับรถประเภทต่างๆ กัน
1.1 รถขุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้าแขนสั้น Hydraulic Backhoe Excavator (Standard Boom)
เป็นรถขุดใช้สำหรับงานขุด-ตัก ทำงานได้คล่องตัว มีสรรถนะและประสิทธิภาพสูง ลักษณะของบูมถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงสูง สามารถขุดดินที่อัดแน่นได้ดี เหมาะสำหรับงานก่อสร้างและงานขุดลอกคลองทุกชนิด เป็นรถที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิคทั้งหมด ควบคุมง่าย และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
1.2 รถขุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตัดเข้าแขนยาว Hydraulic Backhoe Excavator (Long Reach)
เหมาะสำหรับคลองธรรมาชาติมีขอบคันคลองสูง ที่รถขุดชนิดแขนมาตรฐานไม่สามารถขุดถึงก้นคลองได้หรือคลองที่มีความกว้าง เช่น ปากคลอง คลองระบายน้ำ และดินที่ขุดควรจะเป็นดินที่อ่อน ดินเลน ตะกอนดิน ตะกอนทราย ใช้กำลังขุดไม่มาก ควรเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวางระยะการทิ้งดินขุด สามารถทิ้งได้ในระยะไกล
2. รถขุดไฮดรอลิคชนิดโป๊ะเหล็กบุ้งกี๋ตักเข้า (Marsh Backhoe)
รถขุดไฮดรอลิคชนิดโป๊ะเหล็กบุ้งกี๋ตักเข้า มีความจุขนาดบุ้งกี๋ 0.6 ลูกบาศก์เมตร ทั่วไปจะเป็นการทำงานขุดลอกคลองธรรมชาติ ที่มีลักษณะความกว้างของปากคลองประมาณ 8-12 เมตร เช่น คลองส่งน้ำ คลองธรรมาชาติ ที่มีวัชพืชปกคลุมบริเวณคันคลองบางช่วงของคลองจะมีขอบคันคลองสูง รถขุดชนิดนี้แขนมาตรฐานไม่สามารถขุดถึงก้นคลองได้
3. รถขุดตีนตะขาบชนิดบุ้งกี๋ลาก (Dragline Excavator)
ใช้ในการขุดคลองที่มีความกว้างมากๆ มีความจุบุ้งกี๋ตั้งแต่ 0.75-2.50 ลูกบาศก์เมตร การทำงานของรถขุดชนิดนี้ จะทำงานต่ำกว่าระดับตัวรถ ความแม่นยำในการขุดมีน้อย เหมาะสำหรับคลองธรรมชาติ หรือคลองที่มีลักษณะความกว้างปากคลองประมาณ 12 เมตร เช่น คลองระบายน้ำ ขอบคลองที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นพื้นที่โล่ง พื้นที่ของขอบคันคลองมีความกว้างเพียงพอสำหรับให้รถขุดเดินบนคันคลองได้
3.2 รถขุดชนิดโป๊ะเหล็กบุ้งกี๋ลาก (Marsh Dragline)
ลักษณะของตัวรถจะวางไว้บนแท่นบนโป๊เหล็ก มีความจุบุ้งกี๋ 0.4 ลูกบาศก์เมตร ลักษณะการทำงานคล้ายรถตีนตะขาบบุ้งกี๋ลาก เพียงแต่นำระบบไฮดรอลิคมาใช้แทน ส่วนแท่นล่างทำเป็นโป๊ะเหล็กเพื่อให้ลอยน้ำได้ในขณะปฏิบัติงานงาน สามารถคเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งรถขุดประเภทตีนตะขาบไม่สามารถลงไปขุดหรือทำงานได้
4. รถขุดปั้นจั่นชนิดล้อยางติดอุปกรณ์ยกติดตั้งบุ้งกี๋ (Dragline Crawler and Truck crane Mounted)
รถชนิดนี้สามารถติดตั้งบุ้งกี๋ขนาด 0.6 ลูกบาศก์เมตรได้ และสามารถยกน้ำหนักได้ 25 ตัน ลักษณะการทำงานเป็นรถสำหรับยกของที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ซึ่งมีขีดจำกัดในการยกของได้หนัก 25 ตัน โดยมีตะขอเป็นตัวเกี่ยวของขณะยก และกางขาออก ให้ออกเพื่อช่วยรับหน้ำหนักแทนล้อ ในบางกรณีที่ต้องไปขุดดินก็สามารถเปลี่ยนจากขอมาเป็นการใส่บุ้งกี๋แทน เช่น ใช้ในงานก่อสร้าง งานดิน ที่มีปริมาณงานไม่หนักมาก เพราะสะดวกในการวิ่งเคลื่อนย้ายไปมา เพื่อความรวดเร็วของการทำงาน
5. รถขุดไฮดรอลิคขนาดเล็กชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้า (Mini Hydraulic Backhoe Excavator)
ความจริงแล้วรถไฮดรอลิคขนาดเล็กชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้านั้น มีต้นแบบมาจากรถชุดไฮดรอลิคชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้าแขนสั้นที่เป็นรถขุดขนาดมาตรฐาน แต่ถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อช่วยในการเข้าถึงพื้นที่ก่อสร้างแคบๆ หรือพื้นที่ๆ จำกัดได้ รวมไปถึงงานขุดลอกคลอง ร่องน้ำในสวนที่มีต้นไม้จำนวนมาก พื้นที่เดินรถน้อย ไม่เหมาะกับรถขุดขนาดมาตรฐาน รถขุดไฮดรอลิคขนาดเล็กชนิดตีนตะขาบบุ้งกี๋ตักเข้าจึงสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานนี้